ปิด จันทร์ - อังคาร

ประวัติศาสตร์ไทย? ในหนังทำมือ (คลิป)

คุยหนังที่ซิเนม่าโอเอซิส

การเมืองแห่งความทรงจำ

ดร.สุดารัตน์  มุสิกวงศ์    

                            

Print

ประวัติศาสตร์ไทย? ในหนังทำมือ               

เสารที่ 1 ธันวาคม 2561
เวลา  13.00 น.

(สังสรรค์ริมบ่อ 18.30 น.)

 

ช่างน่าอิจฉาที่ภาพยนตร์ต่างชาติสามารถใช้วัตถุดิบจากขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์เป็นเนื้อหาและแรงบันดาลใจ  ในเมื่อสำหรับนักทำหนังไทย  การผจญภัยทางภาพยนตร์เช่นนี้เป็นสิ่งต้องห้าม  นักทำหนังนอกระบบตอบโจทย์นี้อย่างไร  ความหิวโหยความรู้ทางประวัติศาสตร์มีส่วนผลักดันการทำหนังของเขาหรือไม่?  หรือว่ามีเหตุผลอื่น?

ดร.สุดารัตน์  มุสิกวงศ์  ผู้ค้นคว้าภาพยนตร์ในบริบทการเมืองแห่งความทรงจำในประเทศไทย  โดยเฉพาะในยุค ‘สงครามเย็น’ 14 – 6 ตุลา  จะมาเล่าถึงการค้นพบของเธอ  โดยฉายหนังสั้นนอกระบบและพูดคุยกับนักทำหนังถึงแรงจูงใจของแต่ละคน : ‘ประวัติศาสตร์ขนาดย่อของความทรงจำ’  กับ  จุฬญาณนนท์  ศิริผล ; ‘ไซเลนซ์อินดีไมเนอร์’,  ‘ฉันนั่งอยู่ริมสนามฟุตบอล’, และ  ‘เวย์ทูพีช’ กับ  ชลิดา  เอื้อบํารุงจิต ; ‘สัญญาของผู้มาก่อนกาล’  กับ อภิชน  รัตนาภายน ; ‘จำ ไร้ เสียง’  กับ ภัทรภร  ภู่ทอง และ เสาวนีย์  สังขาระ ; ‘แหม่มแอนนา หัวนม มาคารอง โพนยางคำ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน’ กับ รัชฏ์ภูมิ  บุญบัญชาโชค

—————————————————————–

รศ.ดร.สุดารัตน์   มุสิกวงศ์ เป็นอาจารย์สังคมศาสตร์ที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล  การค้นคว้าด้านการเมืองแห่งความทรงจำในประเทศไทยของเธอที่ตีพิมพ์เป็นบทความรวมทั้ง  ‘ศิลปะตุลา : ความรุนแรงของรัฐฐะในสงครามเย็นของไทย  ตามที่ปรากฎในศิลปะแห่งความบอบช้ำ’ (2553)  และ ‘เรื่องของพลเมืองใต้การปกครอง : การระลึกถึงความรุนแรงทางการเมืองในช่วง ค.ศ. 1970 ในไทย’ ขณะนี้เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิแรงงานต่างด้าว และการละเมิดกฎหมายโดยอำนาจรัฐฐะ