ปิด จันทร์ - อังคาร

คุยหนัง : ทะเลที่เปลี่ยนไป

 

Print

 

16 มีนาคม  2562
คุยหนัง : ทะเลที่เปลี่ยนไป

‘ตาที่สาม’ + ‘Labour  Ceremony’ (พิธีกรรมกร)

 

รับรองว่านี่ไม่ใช่ “หนังเอ็นจีโอที่ดีสำหรับคุณ” ทั้ง ‘ตาที่สาม’ + ‘Labour  Ceremony’ เป็นสารคดีที่ไม่ธรรมดาและเปี่ยมด้วยศักยภาพในความเป็นภาพยนตร์

ผู้กำกับ ผศ.ดร. อุณาโลม  จันทร์รุ่งมณีกุล จะมาเล่าประสบการณ์ในการสร้าง ‘ตาที่สาม’  ซึ่งมองการเปลี่ยนแปลงของทะเลตะวันออกผ่าน ‘สายตา’ และสัมผัสของลุงประมงตาบอด  ท่ามกลางการต่อสู้ของชาวบ้านเมื่อวิถีชีวิตของเขาถูกคุกคามโดยโครงการท่าเรือน้ำลึก

ร่วมเสวนาโดย ดร.สมนึก จงมีวศิน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ใน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและ ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ‘Labour  Ceremony’ ที่ฉายคู่กัน  และแสดงให้เห็นการปล่อยผีของชีวิตแรงงานในระบบที่รอพวกเขาอยู่   เมื่อทะเลไม่เหลืออะไรมาค้ำจุนวิถีดั้งเดิมได้อีก

Print

กำหนดการงาน

คุยหนัง : ทะเลที่เปลี่ยนไป

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2562

14.00 น.        ภาพยนตร์ “The Third Eye” (ตาที่สาม)
ภาพยนตร์ ‘Labour  Ceremony’ (พิธีกรรมกร)

15.30 น.        พูดคุยเสวนากับผู้กำกับ ผศ.ดร. อุณาโลม  จันทร์รุ่งมณีกุล
ผู้กำกับภาพยนตร์ “The Third Eye” (ตาที่สาม) ร่วมด้วย
คุณชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ‘Labour  Ceremony’
ดำเนินการเสวนาโดย ดร.สมนึก จงมีวศิน

17.00 น.        ร่วมสังสรรค์ หลังจบการเสวนา

 

 

poster the third Eye

 

‘ตาที่สาม’

64 นาที / ไทย / 2556

ความคิดแรกก็คือ : โอ้ นี่มันถ่ายสวยมากๆ เลยนี่  ละเมียดละไมทุกเฟรมที่มองผ่านสายตาแห่งความรักและเห็นหัวอกกัน  และแล้วเมื่อเจ้าหมาน้อยขึ้นจากทะเลมาพาเหรดลักษณะชุบโคลนช็อคโกแลตครึ่งตัวของมันบนชายหาด  หัวใจของเราก็ตกเป็นของมัน  เราอยู่ที่มาบตาพุดกับเจ้าหมาน้อย  ยามที่บ้านอยู่อาศัยของมันกำลังถูกลบล้างไปโดยโครงการท่าเรือยักษ์เมกาโปรเจ็คต์

สิ่งที่น่าอัศจรรย์คือ – อย่างที่เขาบอกเราไว้ในชื่อของหนังว่า ‘ตาที่สาม’ (แต่ถ้าหนังจะชื่อว่า ‘ผู้เฒ่ากับทะเล’ เหมือนหนังสือของเฮมมิงเวย์ ก็คงได้ๆ) – ภาพยนตร์นี้เป็นมุมมองของชาวประมงตาบอดที่กำลังถูกรุกรานโดยพลังโลกาวินาศ  ที่มุ่งหมายจะลบล้างการมีตัวตนอยู่ของเขา  ความงดงามในการสัมผัสหนทางแห่งชีวิตของเขาช่างไม่ธรรมดา  ไร้คำบรรยาย  วิธีที่เขาคลี่แห  แก้ปม  คอยทำตนให้เป็นประโยชน์  ปล่อยแห  ดึงแหขึ้นมา  และแกะปลาตัวน้อยๆ ออกมาจากแหได้อย่างอ่อนโยน  เขารู้ว่าปลาชนิดใดหายไปบ้าง  เพราะเขาไม่ได้สัมผัสมันด้วยมือ  เขาไม่ได้ลิ้มรสชาติของมันมานานแล้ว

ความพิการทางสายตาถูกแปลออกมาเป็นภาพที่เกือบขาวดำ  ยกเว้นแต่สีเขียวของน้ำทะเลอ่าวไทย  การเล่าเรื่องด้วยมุมมองของคนตาบอดนั้นไปสุดๆ ด้วยของจริงจากกล้องที่ติดบนหัวของลุง  ขณะที่แกดำน้ำลงไปใต้เรือ  เพื่อที่จะอุดรูรั่วด้วยการสัมผัสอย่างเดียว  ความวุ่นวายในหมู่บ้าน  การประท้วง  การเมือง  ทุกสิ่งทุกอย่างไม่รอดจากความรับรู้ของชายตาบอด  เขาใช้ชีวิตวิถีโบราณของเขาไปแต่ละวัน  โดยไม่มีใครคิดที่จะถามความเห็นของเขา  เราเฝ้าสังเกตการณ์ศึกนี้กับลุง  ไม่ใช่ที่แนวหน้าแห่งการปะทะระหว่างมนุษย์  แต่ที่แนวหน้าแห่งชีวิตเลยทีเดียว  (อลิศกินเห็ด)

 

กำกับ : อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล และ ฐิติพันธ์ บำรุงวงศ์

เขียนบท : อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล

กำกับภาพ : สุกฤต ภูมิศรีจันทร์ และ ดลวรรฒ สุนสุข

ตัดต่อ : ฐิติพันธ์ บำรุงวงศ์

เสียง : ดลวรรฒ สุนสุข และ อนิวัฏ แผ่นดินทอง

โปรดิวซ์ : อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล

 

+++++++++++++++++++++++

labour-ceremony-poster-01

พิธีกรรมกร

ไทย, สารคดี, 15 นาที

 

วิดีโอสารคดีคาบเกี่ยวกับวิดีโอทดลอง สร้างความหมายด้วยภาพและเสียงของตัวมันเอง ไม่อาจเรียกมันว่าหนังสั้น  ถึงแม้ว่ามันดูจะมีเรื่องราวในลักษณะจางๆ  ดูเป็นไดอารี่บันทึกด้วยภาพกับเสียงแทนการเขียนตัวหนังสือบนสมุดเล่มมากกว่า โดยจับแก่นหรือแกนของมันไว้ มันเป็นสิ่งที่รู้สึกต่อประเทศไทย ต่อคนประชาชนที่ถูกมอมเมาด้วยสิ่งที่เรียกว่าความดีเหมือนพลุที่ส่งสว่างเพียงชั่วครู เหมือนงานเลี้ยงที่มีวันจบลง

 

 

กำกับ / ถ่ายทำ / ตัดต่อ : ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์