ปิด จันทร์ - อังคาร

ทำไมฉันรักหนังไทย (เก่า)

Aliosha-01FB post final

 

ทำไมฉันรักหนังไทย (เก่า)

หญิงสาวฝรั่งเศส  อลิโยชา  เอเรรา  หรือ ‘ดร.โย’ หลงใหลคลั่งไคล้หนังไทย ยุค 16 มม.  เธอน่าจะได้ดูหนังไทยยุคทอง 2488-2513 มามากกว่าทุกคนในโลกนี้ที่ยังมีชีวิตอยู่

เธอเลือกมา 2 เรื่องให้เราได้สนุกกัน :  เงิน เงิน เงิน (มิตร-เพชรา) และ ‘น้ำตาลไม่หวาน’ (สมบัติ-เมตตา)

หนังไทยยุคทองที่โอบกอดเราเมื่อเรากลับไปหามัน  ราวกับญาติมิตรที่จากหายไป  –  ราวเหล่าวิญญาณหรรษาในฝันถึงเมืองไทยที่จางหายไปแล้ว

 

 

@คุยหนัง กับ อลิโยชา  เอเรรา 

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2561  เวลาบ่าย 2.30 น.

 

 

————————————-

อลิโยชา เอเรรา  ชาวฝรั่งเศส ด็อกเตอร์ของมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ปารีส 3 สาขาวิชาภาพยนตร์  หลังจากเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท เรื่อง ‘การคิดค้นความทรงจำที่มีการวิเคราะห์ในผลงานของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ [The invention of a critical memory in the work of Apichatpong Weerasethakul] เธอได้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่อง ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย จากปี  2488  ถึง 2513 และสำเร็จการศึกษาในปลายปี 2559

เธอเคยค้นคว้าที่หอภาพยนตร์ไทย (องค์การมหาชนในระหว่างปี 2555-2558 อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ไทย ยุค ๑๖ มม. เธอยังเป็นกรรมการของสมาคมานาชาติ Kinétraces ที่รวบรวมนักวิจัยในด้านประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ และ หอภาพยนตร์ในทั่วโลก

 

 

???????????????????????????????????????

 

น้ำตาลไม่หวาน

มนัส (สมบัติ  เมทะนี) ลูกชายพ่อพวงมาลัยหัวแก้วหัวแหวนของเศรษฐีเจ้าของบริษัทเกศาเจริญ (เสน่ห์  โกมารชุน) ถูกบังคับให้หมั้นกับน้ำตาล (เมตตา  รุ่งรัตน์) ลูกสาวเพื่อนชาวอินเดียของพ่อ เพียงเพื่อจะฮุบมรดกมหาสมบัติของเธอ

ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของรัตน์ เปสตันยี – ล้อเลียนความหวานขายดีในหนังรักไทย 16 มม. ในคราบสดสีของหนังเพลงซิเนม่าสโคป (อลิโยชา  เอเรรา)

 

 

เงิน เงิน เงิน (กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พ.ศ. 2508)

 

เงิน เงิน เงิน

อรรคพล หลานนายหิรัญ เศรษฐีปล่อยกู้โหด กลับมาเมืองไทยหลังเรียนจบปริญญาการจัดการการบันเทิงจากประเทศอังกฤษ  เขาเปิดไนท์คลับกับวงดนตรียาจกครื้นเครง หนังเพลงแนวตลกกำกับโดย พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ยุคล ในปี 2508  นำแสดงโดยยอดคู่ขวัญ มิตร-เพชรา และนักร้องแถวหน้ามากมาย

หนังเรื่องนี้ ซึ่งฉีกหน้ากากให้เราเห็นความโหดร้ายของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างกล้าบ้าบิ่น คงความทรงค่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของศิลปะภาพยนตร์โลก (อลิโยชา  เอเรรา)